เจาะลึกวิธีเลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับ 4 ลักษณะผิวของเราอย่างแท้จริง

     การตลาดเกี่ยวกับการใช้ครีมกันแดดบ้านเรา มักจะหานางแบบผิวขาวๆ หรือบางทีก็เป็นลูกครึ่งผิวขาวมาแสดง ทำให้ดูสวยงามน่าปกป้องด้วยครีมกันแดด แต่ในความเป็นจริงแล้วอะไรกันแน่คือสาเหตุที่แท้จริงที่เราจะต้องคำนึงถึงในการเลือกครีมกันแดดดีๆ ซักหลอดให้กับตัวเอง วันนี้เราจะมาเจาะลึกให้เห็นว่าจริงๆ แล้ว การเลือกครีมกันแดดให้เหมาะกับตัวเองนั้นต้องดูที่ลักษณะของสีผิวของเราเป็นหลัก


1. ผิวขาวแบบชาวยุโรป

ผิวแบบนี้เรามักจะเห็นในโฆษณาอยู่บ่อยๆ เพื่อทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อไปว่าทาแล้วผิวจะดูขายใสแบบนางแบบเหล่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วผิวขาวแบบยุโรปนั้นจะเหมาะกับครีมกันแดดที่มีค่า SPF อยู่ที่ประมาณ 45-60 เพราะผิวจะบางมาก เกิดผิวไหม้ง่ายมากหลังสัมผัสกับแสงแดด จึงจำเป็นต้องใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง ๆ

2. ผิวขาวอมชมพูแบบเอเชีย

คนเอเชียอย่างทางญี่ปุ่น หรือเกาหลี จะมีผิวลักษณะแบบนี้ คนไทยเองก็มีผิวแบบนี้กันพอสมควร ผิวชนิดนี้บอบบางมาก เกิดผิวไหม้ได้ไว เกิดผิวสีแทนได้เมื่อโดดแสงแดดเป็นเวลานาน ควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF ค่อนข้างสูงประมาณ 30-45 เพื่อเพิ่มเวลาในการปกป้องผิวมากขึ้น

3. ผิวขาวเหลืองแบบเอเชีย

ผิวแบบนี้เป็นเอกลักษณ์ของชาวเอเชียเราเลยก็ว่าได้ ผิวชนิดนี้บางแต่ยังมีเมลานินที่บริเวณชั้นผิวหนังอยู่บ้างจึงสามารถทนต่อแสงแดดได้ในระดับหนึ่ง การเกิดผิวหนังร้อนแดงจะเกิดได้ช้ากว่าผิว 2 ชนิดแรก คนที่มีผิวประเภทนี้ควรเลือกครีมกันแดดชนิดที่มีค่า SPF ปานกลางประมาณ 30

4. ผิวคล้ำธรรมชาติ

ผิวชนิดนี้ก็มีมากในคนไทย เพราะคนไทยอยู่กับแสงแดดมานาน ผิวจะคล้ำกว่าประเทศที่ไกลเส้นศูนย์สูตร ผิวมีเมลานินสูง ผิวสีน้ำตาลจะช่วยให้ไม่เกิดการไหม้ ไม่เกิดสีแทน สามารถใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF ต่ำได้อยู่ที่ประมาณ SPF 15 แต่ก็ไม่ได้หมายถึงว่าทาแล้วจบไป ต้องดูเวลาในการอยู่กับแดดด้วย

     จะเห็นได้ว่าเราจะเลือกครีมกันแดดตามลักษณะของสีผิวเป็นหลัก เพราะอะไร เพราะว่าค่า SPF ที่เราเห็นกันอยู่ประจำตามบรรจุภัณฑ์ครีมกันแดดหลากหลายยี่ห้อในท้องตลาดนั้น แท้จริงแล้วเป็นค่าที่บ่งบอกว่า คุณจะได้รับการปกป้องจากครีมกันแดดเหล่านั้นได้นานเท่าไหร่นั่นเอง เช่น ค่า SPF 60 ย่อมปกป้องผิวจากแสงแดดได้นานกว่า SPF 15 เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นมีข้อที่จะต้องจำง่ายๆ คือ ค่า SPF สูงป้องกันได้นานกว่า ไม่ใช่ป้องกันได้ดีกว่า

Share this

Related Posts

Previous
Next Post »